
มาจากตาคลี กะหรี่ไทยแบบคังคุไบที่ถูกตีตรา โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์
มาจากตาคลี ที่ถูกตีตราเหมือนกับ คังคุไบ ในภาพยนตร์ที่ Netflix นั้นเป็นอัตชีวประวัติของนักต่อสู้ในประวัติศาสตร์ของอินเดีย
มาจากตาคลี บอกเลยว่ากระแส “คังคุไบ” นักเคลื่อนไหวในประวัติศาสตร์ของอินเดีย ได้กลายเป็น Pop Culture อันใหม่ของไทยขึ้นมา ทำเอาดาราหลายคน ลุกฮือขึ้นมาคัฟเวอร์กันจนเป็นกระแสอยู่ในช่วงนี้นั้น เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เทยชวนสงสัย และตั้งคำถามหนักๆเลยว่า เอ๊ะ นี่เพราะคอนเทนต์เมือง Bollywood เขาก้าวไปข้างหน้ากว่าไทย หรือจริงๆแล้วไทยก็มีมานานแล้วกันแน่ เลยอยากจะพาส่อง พาวิเคราะห์กันเสียหน่อย
“มาจากตาคลี” กะหรี่ไทยแบบคังคุไบ ที่ถูกตีตราความสำเร็จของละคร “กรงกรรม” นอกจากการแสดงที่ยอดเยี่ยม เนื้อหาที่เข้มข้นเป็นจักรวาลนครสวรรค์แล้ว สิ่งที่ขับเน้นเรื่องอย่างชัดเจน คือการต่อสู้เพื่อฉกชิงพื้นที่ของผู้หญิง ในสังคมที่ผู้ชายถือครองทรัพยากร ที่ดินที่นาทรัพย์สิน และหน้าตาทางสังคม
ที่จะนำมอบให้ผู้หญิง ในครอบครัวเป็นลำดับถัดไป และตัวละครที่ถูกนำมาวัดคุณค่า จนกลายเป็นแกนเรื่องสำคัญคืออาชีพ หญิงขายบริการ ซึ่งในเรื่องนั้นถูกใช้คำว่า กะหรี่ อย่างออกรสออกชาติ โดยแม่ย้อยนั่นเอง
ย้อนกลับไปในสมัยสงครามเย็น ซึ่งเป็นยุคสมัยในเรื่องของกรงกรรม ทหารอเมริกันมาตั้งถิ่นฐานในบ้านเราเยอะ และทำให้การมีอยู่ของซ่อง ในหัวเมืองใหญ่ๆที่จะสามารถ ส่งทหารไปเวียดนามได้นั้นเฟื่องฟู คุณค่าของหญิงไทย จึงถูกแบ่งออกเป็นหญิงที่ ยังยืนหยัดอยู่กับความงามตามขนบ
กับหญิงที่มีพฤติกรรมเริงเมือง และใช้ร่างกายไม่ตรงตามขนบ ซึ่งทันทีที่มีบุคลิกดูแรง การแต่งเนื้อแต่งตัวให้ดูเตะตาเกินไป นั่งอยู่ตามสถานเริงรมย์ ก็จะถูกตีค่าว่าเป็นอีตัว หรือกะหรี่ทันที
ความแตกต่างคือ ในประเทศอินเดีย มีเรื่องของการแอบซ่อน และหลบกฎหมาย หรืออยู่เป็นหลักเป็นแหล่งชัดเจน แต่ในสังคมไทย การมีอยู่แม้จะไม่ถูกกฎหมายเสียทีเดียว แต่เป็นการทำให้เอื้อต่อสภาพโครงสร้างของสังคม ที่พยายามจะทำให้ผู้หญิง มานั่งฟาดและวัดคุณค่ากันเองอีกที การที่แม่ย้อย ไม่ยอมรับเรณูตั้งแต่แรกเห็น ก็เพียงเพราะเธอไม่ตรงตามขนบที่แม่เขาต้องการนั่นเอง
เหยียวเทย รายงาน
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : www.sanook.com
อ่านริวิวเพิ่มเติมได้ที่ : รีวิวหนัง
ติดต่อเราได้ที่ : คลิ๊ก