หนังไทย

หนังไทย ภาพยนตร์ไทย ที่มาของภาพยนตร์ไทย จุดเริ่มต้นที่น่ายกย่องของคนไทย

หนังไทย ที่มาของภาพยนตร์ไทย จุดเริ่มต้นของการวง ภาพยนตร์ไทย ที่คุณควรรู้

หนังไทย สำหรับวงการของหนังไทย ที่มีจุดเริ่มต้น และมีประวัติมาอย่างยาวนาน และวันนี้เราจะพาทุกท่าน มาเรียนรู้ และทำความเข้าใจ พร้อมทั้งยังรู้จักจุดกำเนิดของ วงการหนังไทย ที่ต้องบอกเลยว่า เป็นการเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยม ทำให้คนไทยมีพัฒนา และวิวัฒนาการในวงการหนังได้อย่างยอดเยี่ยม โดยสำหรับภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก ที่มีการถ่ายทำในเมืองไทย ก็คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ โดยผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ซึ่งสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทยทั้งหมด ซึ่งได้เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ภาพขาว-ดำ ไม่มีเสียง แต่ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ ที่อยู่ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทยนั่นเอง

ซึ่งในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ที่ต้องถือได้เลยว่าเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของ ภาพยนตร์ไทย มีสตูดิโอถ่ายทำ และภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย และหลังจากนั้นเอง สำหรับประเทศไทยก็ได้เข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นก็ถือว่าเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย หรือต้องบอกเลยว่าแทบจะทั่วโลกเลยด้วยซ้ำ และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง สำหรับกิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยก็ค่อยๆ ฟื้นคืนกลับมา และได้มีการเปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน

เพราะเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน สำหรับวงการภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องเอง ก็ได้มีการแสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ซึ่งในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 ต่อมาภาพยนตร์ไทยในช่วงปี พ.ศ. 2530-2539 โดยในตอนต้นทศวรรษวัยรุ่นเอง ก็เป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ เพราะนอกจากภาพยนตร์ประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ และหนังเกรดบี ก็มีการผลิตมามากขึ้นอีกด้วย

หนังไทย ภาพยนตร์ยุคบุคเบิก (2470 – 2489) กับ ความรุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ 

สำหรับในช่วงเวลายุดเริ่มต้นของวงการหนัง ที่ถือว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองอยย่างแท้จริงของ อุตสาหกรรมภาพยนตร์  ซึ่งทางบริษัทกรุงเทพภาพยนตร์ ก็ได้มีการสร้างหนังเรื่องแรกเสร็จ โดยให้ชื่อเรื่องว่า โชคสองชั้น เนื้อเรื่องแต่งโดย หลวงบุณยมานพพานิช (อรุณ บุณยมานพ)

ที่มีการกำกับการแสดงโดย หลวงอนุรักษ์รถการ (เปล่ง สุขวิริยะ) ซึ่งก็ได้มีการถ่ายภาพโดยหลวงกลการเจนจิต ผู้แสดงเป็นพระเอกคือ มานพ ประภารักษ์ ซึ่งก็ได้มีการคัดมาจากผู้สมัครทางหน้าหนังสือพิมพ์ ม.ล. สุดจิตร์ อิศรางกูร นางเอกละครร้องและละครรำมีชื่ออยู่ในขณะนั้น

ซึ่งสำหรับหลวงภรตกรรมโกศล ที่ได้รับบทเป็นตัวโกงจากเรื่อง นางสาวสุวรรณ ซึ่งได้แสดงเป็นผู้ร้าย ภาพยนตร์ก็ได้มีการออกฉายเป็นครั้งแรก ที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ก็ได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ซึ่งนับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก ที่มีมวลมหาชนไปดูกันมากที่สุด แถมยังได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย ซึ่งอีกเดือนเศษต่อมา บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย จึงสร้างหนังของตนเรื่อง ไม่คิดเลย สำเร็จออกฉายในเดือนกันยายนปีนั้นอีกด้วย

โดยภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องเอง ก็ต่างเป็นภาพยนตร์เงียบที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะหลังจากนั้นเอง ทั้งสองบริษัทก็ได้มีการพยายามสร้างภาพยนตร์เรื่องต่อๆมา และก็มีผู้สร้างภาพยนตร์รายใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ปี พ.ศ. 2470

และถือว่าได้เป็นปีที่เริ่มยุคหนังเสียง ที่เรียกว่า ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (sound on film) หรือ ภาพยนตร์พูดได้ (talkie) ของฮอลลีวู้ด ปี พ.ศ. 2471 ก็ได้เริ่มมีผู้นำอุปกรณ์ และภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม เข้ามาฉายในกรุงเทพ

โดยสำหรับภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก โดยพี่น้องวสุวัต ก็ได้มีการประเดิมถ่ายทำกันได้แก่ ภาพยนตร์ข่าว สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จนิวัต พระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474 โดยในเวลาต่อมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้ออกฉาย สู่สาธารณะ

ที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2474 ก็ได้รับความชื่นชม ซึ่งต่อมา พี่น้องวสุวัต ในขณะนั้นเรียกชื่อ กิจการสร้างภาพยนตร์ของพวกตน เป็นทางการว่า ‘บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง’ และสำหรับภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง ก็ถือเป็นภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ที่มีการฉายในช่วงวันขึ้นปีใหม่ เดือนเมษายน พ.ศ. 2475

ซึ่งก็จะมีความพิเศษกว่าทุกปี เพราะได้เป็นปีที่รัฐบาลจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ทำให้มีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศ มีการจะเดินทางเข้ามาในเมืองหลวงมากกว่าปกติ โดยภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง จึงประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ยุคนี้จัดว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของ วงการหนังไทย อย่างแท้จริง

วงการหนังไทย ภาพยนตร์ไทยในยุค 16 มม. (2490 – 2515)

เมื่อเวลาผ่านมา ในวงการหนังไทยเอง ก็ไม่ได้มีการหยุดพัฒนาแต่อย่างใด จึงทำให้ผู้สร้างหนังไทยเอง ก็มีการสร้างหนังด้วยฟิล์ม 16 มิลลิเมตร แทน 35 มิลลิเมตร ที่เคยมีการสร้าง ภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรเรื่อง สุภาพบุรุษเสือไทย ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย

ซึ่งหนังเรื่องนี้เอง ได้มีการนำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ละออ ทิพยวงศ์ สอางค์ ทิพยทัศน์ ประชุม จุลละภมร และเกื้อกูล อารีมิตร ที่ได้เป็นภาพยนตร์ประสบความสำเร็จ ทั้งในด้านรายได้และคำชมเชย ซึ่งสำหรับการสร้างภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

เพราะแม้ว่าภาพยนตร์ที่มีการถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. ก็จะไม่จัดว่าได้มาตรฐาน แต่ก็ถือได้ว่า เป็นการถ่ายทำสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว สามารถล้างฟิล์มแล้วนำออกฉายได้เลยแล้ว แถมยังมีต้นทุนต่ำกว่าการถ่ายทำภาพยนตร์ในระบบ 35 มม.

และยังสามารถกอบโกยกำไรได้อย่างงดงาม จึงได้เป็นแรงจูงใจให้มีนักสร้างภาพยนตร์มือสมัครเล่น กระโดดเข้ามาเป็นผู้อำนวยการสร้างกันมาก โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2500-2515 ช่วงเวลา 15 ปีเต็มอันเป็นช่วงรุ่งเรือง ของภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม.นี้ แต่ก็ยังถือว่าเป็นในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ และในบางครั้งเองภาพยนตร์เหล่านี้ ก็ได้มีลักษณะหลายประการที่จะคล้ายๆกันจนดูเป็นสูตรสำเร็จเลยก็ว่าได้

ซึ่งก็จะเน้นความเพลิดเพลิน เพื่อนำคนดูออกจากโลกแห่งความจริงเป็นสิ่งสำคัญ และโดยส่วนใหญ่ก็จะต้องมีครบรสทั้งตลก ชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา แถมยังมีการบู๊ล้างผลาญ รวมไปถึงฉากโป๊บ้างในบางฉาก ซึ่งเรื่องราวมักเป็นแบบสุขนาฏกรรม และจบลงด้วยธรรมะชนะอธรรมเสมอเลยทีเดียว

วิวัฒนาการของ ภาพยนตร์ไทย กับการสะท้อนภาพสังคม (2516 – 2529)

ในช่วงเวลาที่บ้านเมืองเข้าสู่ ภาวะคับขันซึ่งไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 เป็นต้น จนถึงราวปี พ.ศ. 2529 ที่ได้มีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องซึ่งได้ มีการแสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม

เพราะในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 โดยเฉพาะในปีพ.ศ. 2521-2525 นั้น ก็ได้เป็นช่วงที่หนังสะท้อนสังคมโดดเด่นที่สุด จนอาจจะกล่าวได้ว่า นี่ก็คือยุคทองของหนังสะท้อนสังคมอย่างแท้จริง สำหรับ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย และสักกะ จารุจินดา ก็ได้มีการทำหนังเชิงวิพากษ์สังคมก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 16

โดยสำหรับภาพยนตร์เรื่อง เขาชื่อกานต์ ก็มีปัญหากับเซ็นเซอร์ตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะได้เป็นหนังเรื่องแรกที่สร้างขึ้นมาพูดถึงระบบการฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยตรง ซึ่งในสมัยนั้นเอง ก็ไม่มีใครกล้าแตะต้อง และในระยะไล่เลี่ยกัน สักกะ จารุจินดา ได้นำ ตลาดพรหมจารี ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการยอมรับจากทั้งนักวิจารณ์และคนดู

และในภาพยนตร์เรื่อง เทพธิดาโรงแรม ก็ได้มีภาพส่วนหนึ่งเป็นภาพเหตุการณ์จริงในการเดินขบวน และเมื่อเข้าฉายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2517 เทพธิดาโรงแรม ก็ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย ซึ่งหลังจากนั้น ท่านมุ้ยได้สร้างหนังออกมาอีกหลายเรื่อง ทั้งที่เป็นหนังรักและหนังวิพากษ์สังคม

อย่างเช่น เทวดาเดินดิน ก็ได้เป็นหนังอีกเรื่องที่เรียกได้ว่าสร้างขึ้นมาด้วยเจตจำนง ที่ต้องการจะวิพากษ์วิจารณ์สังคมเมื่อประชาธิปไตยเบ่งบานจนเฟ้อ หลังจากโศกนาฏกรรมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผ่านไป บ้านเมืองกลับเข้าสู่ยุคมืดอีกครั้ง

เมื่อ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้มีการรับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี บ้านเมืองไม่ผิดแผกจากยุคเผด็จการทหาร คนทำหนังส่วนใหญ่จึงต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม และสำหรับผู้สร้างหนังจำต้องยุติบทบาททางการเมือง ของตนเองลงโดยปริยาย หนังที่ผลิตออกมาในช่วงนี้กลับสู่ความบันเทิงเต็มรูปแบบอีกครั้ง ส่วนใหญ่เป็นหนังตลกที่ครองตลาด ไม่ว่าจะเป็น รักอุตลุด หรือ เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง ของสมพงษ์ ตรีบุปผา นั่นเอง

การเติบโตของ ภาพยนตร์ไทย ในทศวรรษ (2530 – 2539) 

สำหรับในพ.ศ. 2531-2532 วงการหนังไทย ที่ตอนนี้ได้มีกลุ่มวัยรุ่นเป็นเป้าหมายของคนทำหนัง โดยหลังจากที่มีความสำเร็จของ ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย, ปลื้ม ,ฉลุย และบุญชูผู้น่ารัก (พ.ศ. 2531) ที่ได้เป็นเรื่องหลังเป็นงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงของบัณฑิต ฤทธิ์ถกล

โดยผู้กำกับรุ่นเดียวกับยุทธนา มุกดาสนิท ซึ่งหลังจากหนังเรื่องนี้ก็ได้ บัณฑิตก็กลายเป็นคนทำหนังร่วมสมัยที่มีหนังทำเงินและหนังคุณภาพมากที่สุด ระหว่างปี 2531-2538 บัณฑิตทำหนังชุดบุญชูถึง 6 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2534 ไทเอนเตอร์เทนเมนท์ ก็ประสบความสำเร็จกับภาพยนตร์เรื่อง กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้

และนอกจากหนังประเภทวัยรุ่นแล้ว ก็ยังมีหนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ (เป็นแนวพิเศษที่แยกออกมาจากหนังชีวิต นิยมสร้างกันในช่วงปี พ.ศ. 2532-2535 โดยมีตลาดวิดีโอเป็นเป้าหมายหลัก) ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นหนังเกรดบี หรือ หนังลงทุนต่ำของผู้สร้างรายเล็กๆ

ซึ่งหนังที่มีความโดดเด่นในบรรดาหนังเกรดบี คือ หนังผีในชุด บ้านผีปอบ ซึ่งมีการสร้างติดต่อกันมากกว่า 10 ภาคในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2537 เหตุเพราะเป็นหนังลงทุนต่ำที่ทำกำไรดี โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด โดยในการเปลี่ยนแปลงของวงการภาพยนตร์ไทยนั้นเอง

ก็มีผลจากการเติบโตของตลาดวิดีโอ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของหนังฮอลลีวูด และการปรับเปลี่ยนรูปแบบโรงหนังในกรุงเทพฯ สู่ระบบมัลติเพล็กซ์ ซึ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2537 ทำให้โรงหนังขนาดย่อย ในห้างที่มีระบบเสียง และระบบการฉายทันสมัยเหล่านี้ เพราะนอกจากจะถูกสร้างให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบใหม่ของคนเมืองแล้ว ยังมุ่งรองรับหนังฮอลลีวูดเป็นหลัก ทำให้หนังไทยถูกลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ

ภาพยนตร์ไทยในปัจจุบัน

เริ่มต้นทศวรรษใหม่ในปีพ.ศ. 2540 ที่ได้มีการปรากฏการณ์ ที่ได้สร้างความตื่นตัวให้กับ วงการหนังไทย อีกครั้ง นั่นคือความสำเร็จชนิดทำลายสถิติหนังไทยทุกเรื่อง ด้วยรายได้ที่มีมากกว่า 70 ล้านบาทจากหนังของไทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง

ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2548 ที่ทางด้านการทำรายได้มีการสร้างสถิติอย่างต่อเนื่อง โดยภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล 20 อันดับแรกล้วนอยู่ในช่วง ปี 2540 – 2548 มีภาพยนตร์ไทย 9 เรื่องด้วยกัน ที่สามารถทำรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท โดยภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (2544) รายได้ภายในประเทศกว่า 700 ล้านบาท

เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด นางนาก ที่มีการออกฉายต้นปี 2542 ก็ได้กวาดรายได้ไปถึง 150 ล้านบาท บางระจัน ของ ธนิตย์ จิตต์นุกูล ก็กวาดรายได้ 150.4 ล้าน มือปืน/โลก/พระ/จัน ของผู้กำกับฯ ยุทธเลิศ สิปปภาค 120 ล้าน และ สตรีเหล็ก ของ ยงยุทธ ทองกองทุน 99 ล้าน ในปี 2544 ถือได้ว่าเป็นปีทองที่น่าจดจำของวงการภาพยนตร์ไทยอย่างแท้จริง

ซึ่งสำหรับ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ที่กำลังเข้าไปสู่ยุคการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นั่นก็เป็นเพราะกระแสโลก ที่ได้เป็นตัวกำหนดรสนิยม ของการดูภาพยนตร์ของคนไทยก็เริ่มเปลี่ยนไป พร้อม ๆ กับการเข้ามาของกลุ่มผู้กำกับฯ คลื่นลูกใหม่ ที่ได้มีศิลปะในการจัดการทางด้านธุรกิจ การใช้สื่อโฆษณาทุกรูปแบบกระตุ้นผู้บริโภคด้วยนั่นเอง

ติดตามบทความภาพยนต์อัพใหม่ : รีวิวหนัง , หนังฮอลลีวูด

ผู้สนับสนุน : คลิ๊ก