Inside Out “มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง” ภาพยนตร์แอนิเมชั่น ที่ทำให้รู้ว่าเราไม่จำเป็นต้องเข้มแข็งตลอดเวลา

Inside Out “มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง” แอนิเมชั่นดีๆ เมื่ออารมณ์ในหัวของเรามีชีวิตที่คอยควบคุมอยู่

Inside Out “มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง” หนังอนิเมชั่น Pixar แต่ละเรื่องจะถูกกล่าวขวัญว่า ไม่ใช่แค่การ์ตูนเด็กดู เพราะเป็นการ์ตูนที่เด็กก็ดูสนุก ผู้ใหญ่ก็ดูแล้วได้แง่คิดนั่นเอง ต้องบอกเลยว่าเสน่ห์ ของการ์ตูนพิกซาร์ คือเป็นการ์ตูนที่ ไม่ได้ทำมาเพื่อขาย กับกลุ่มเป้าหมายที่ เป็นเด็กอย่างเดียว ไม่ว่าจะทั้งเนื้อหา และบทบาทของตัวละคร ค่อนข้างละเอียดอ่อน จนทำให้การ์ตูนส่วนใหญ่ ของพิกซาร์เป็น การ์ตูน ที่ผู้ใหญ่ดูแล้วเข้าถึง เนื้อหาหลักๆมากกว่า

อีกทั้งสีภาพและ ลายเส้นของการ์ตูน เองก็ยังมีเอกลักษณ์ มีความธรรมชาติ รวมไปถึงการลงสี ตัวการ์ตูนของ Pixar ที่สีสดและเก็บรายละเอียดต่างๆ ได้ดีเรียกว่าลื่นไหล ไม่มีหลุดเลย เป็นหนังแอนิเมชั่นระดับ Masterpiece กำกับและเขียนบทโดย Pete Docter (จากแอนิเมชันออสการ์ UP: ปู่ซ่าบ้าพลัง)

ผลงานการสร้างจาก Pixar Animation Studios ด้วยไอเดียเริ่มต้นจากการที่ เวลาเดินผ่านใครบางคน เราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ในหัวเขานั้น มีการทำงานกันอย่างไร ซึ่งก็นำมาสู่ทีมอารมณ์ แบบที่เราได้เห็นในหนัง ซึ่งมันก็ตัดสลับ กันได้เป็นอย่างดี ระหว่างการทำงานในหัว

ของตัวละครสาวน้อยอย่าง Riley กับการใช้ชีวิตของเธอ ที่ทำออกมาให้เราเห็นถึง กระบวนการแบบง่ายๆ ที่ในหัวสั่งให้เรา มีความรู้สึกและแสดงออกมา ในแบบที่เข้าใจง่าย ไปจนถึงในเรื่องระบบ ของความทรงจำ ที่มีวิธีถ่ายทอดออกมา ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว และมีความสร้างสรรค์แบบสุดๆ จนต้องยกนิ้วให้ รวมถึงทีมพากษ์เอง ก็สร้างสีสันให้กับตัวละคร ในแต่ละอารมณ์ ได้น่าสนใจและ เข้ากับคาแรคเตอร์พวกเขามากๆ

Inside Out

เรื่องราวสุดวุ่นวายในหัวของสาวน้อย Inside Out “มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง” 

เรื่องราวของภาพยนตร์ Inside Out เป็นการจำลองว่า ในหัวของคนเราที่ทำงาน ควบคู่ไปกับการแสดงความรู้สึก และโหมดของอารมณ์ ที่มีขึ้นมีลงและ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผ่านตัวละครอย่าง “ไรลีย์” เด็กสาวอายุ 11 ปี ผู้มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ แถมเป็นนักกีฬาฮอกกี้ ตัวเก่งของโรงเรียน

แต่ใครจะรู้ว่าในหัวของเธอนั้น ประกอบด้วยตัวเอกเล็กๆ อีก 5 ตัวก็คือ ลั๊ลลา (Joy), เศร้าซึม (Sadness), กลั๊วกลัว (Fear), หยะแหยง (Disgust), และฉุนเฉียว (Anger) ซึ่งไม่เพียงแต่ไรลีย์เท่านั้น ที่มีอารมณ์เหล่านี้ คอยควบคุมการกระทำอยู่ในสมอง แต่คนอื่นๆก็เช่นกัน ไม่ว่าจะพ่อหรือแม่

 

เพียงแต่ความรู้สึกแต่ละอย่าง ของแต่ละคนก็จะ แตกต่างกันออกไปตามแต่บุคลิก แม้ว่าจะมีอารมณ์ถึง 5 อารมณ์ แต่คนที่คอยควบคุม ความรู้สึกและการกระทำ ส่วนมากของ “ไรลีย์” ก็คือ Joy ที่คอยทำให้เธอเป็นเด็ก ที่สดใสมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ในทุกการกระทำของ ไรลีย์ จะถูกเก็บเป็นลูกบอล

ที่เรียกว่า “ความทรงจำ” (Memory) ความทรงจำเหล่านี้ เมื่อหมดวันก็จะ ถูกเก็บไปยังส่วนของ “ความทรงจำระยะยาว” และในบางครั้ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ สำคัญๆในชีวิต ลูกบอลที่เกิดขึ้น ก็จะเรียกว่า “ความทรงจำหลัก” (Core memory) และเหล่าความทรงจำหลักนี้เอง

ที่จะถูกพัฒนาให้กลายเป็น บุคคลิกภาพประจำตัวต่อไป ซึ่งในเรื่องนั้น ความทรงจำหลัก ของไรลีย์เหล่านี้ก็จะถูก นำไปสร้างเป็นเกาะ เพื่อแทนบุคคลิกภาพ ในแต่ละแง่มุม อย่างเช่นเกาะฮอคกี้เมื่อ ไรลีย์ ทำประตูแรกได้ เมื่อตอนเป็นเด็กทำให้เธอ ชอบเล่นฮอกกี้ตั้งแต่นั้นมา

หรือจะเป็นเกาะแห่งมิตรภาพ ที่แทนถึงเพื่อรักของเธอ ที่สนิทกันมาตั้งแต่ยังเด็ก ชีวิตของเธอมีแต่ความสุข เป็นส่วนใหญ่แม้กระทั้ง Joy เอง ก็ไม่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเธอได้ จนกระทั่งมาถึงวันที่เธอ ต้องย้ายบ้าน..

การ์ตูนจิตวิทยา “Inside Out” มีระบบอะไรทำงานอยู่ในหัวเราบ้าง

Inside Out

  • อารมณ์ จากหนังเราจะเห็นว่าคนเรา จะมีอารมณ์หลักๆอยู่ 5 อย่าง ได้แก่ Joy, Sadness, Anger, Fear, และ Disgust โดยที่การแสดงออกทางอารมณ์ ของตัวละครในหนัง ถูกควบคุมสั่งการโดย Emotions’ Headquarters ที่คอยกดปุ่มบนแป้นคีย์บอร์ด ให้ตัวละครตอบสนอง กับสิ่งต่างๆที่เขาพบเห็น ซึ่งตรงนี้เอง ที่มีส่วนมีผลต่อพฤติกรรม การแสดงออก หรือกระทั่งการตัดสินใจ ของแต่ละคนต่างกันไป ในแต่ละโมเมนต์ พอคนเราโตขึ้น อารมณ์ความรู้สึกของเรา ก็ย่อมซับซ้อน หรือเข้าใจยากมากขึ้น กับสิ่งแต่ละสิ่งหรือ กับความทรงจำในแต่ละเรื่อง เพราะเราไม่จำเป็นที่ต้อง มีความรู้สึกเดียวเสมอไป เราอาจจะสุข เศร้า โกรธ กลัวหรือรังเกียจ มันไปพร้อมๆกันก็ได้

 

  • ความคิด ซึ่งในเรื่องเอง รถไฟความคิด จะวิ่งได้ก็ต่อเมื่อ เราตื่นนอนเท่านั้น และจะหยุดวิ่งก็ต่อเมื่อ เรานอนหลับ รถไฟความคิดวิ่งไปเรื่อยๆ ในหัวเราอย่างไม่มีทิศทาง และโดยปกติจะมี เส้นทางที่มุ่งไปสู่ Head Quarters ด้วยแสดงให้เห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เราแสดงออกนั้น โดยส่วนใหญ่ก็ล้วนมีพื้นฐาน มาจากความคิด ความรู้ ความทรงจำ หรือประสบการณ์ชีวิต ของเรารวมเข้าไปด้วยนั่นเอง

Inside Out

  • ความทรงจำ ซึ่งความทรงจำแต่ละเรื่องๆ จะถูกเก็บไว้ในลูกแก้วกลมๆสีต่างๆ ตามอารมณ์ในขณะนั้น ซึ่งลูกแก้วความทรงจำทั้งหลาย จะเก็บอยู่ใน ความทรงจำระยะยาว ที่เป็นเชลฟ์ๆ ไลบรารี่เรียงราย เป็นเหมือนเขาวงกต เหมือนรอยหยักในสมองคน แต่ความทรงจำบางอย่าง เมื่อถึงเวลามันก็จะต้อง ถูกหลงลืมเลือนแล้วสิ้น สมองของเราจึงมีฝ่ายหนึ่ง ไว้คอยเช็คความทรงจำที่ไร้ค่า แล้วโยนทิ้งลงไปในเหว อันมืดมนตลอดกาล

  • จินตนาการ Imagination Land ของ Riley นั้นมีความสวยงาม สดใส และน่ารักตามประสาเด็กน้อย ในโลกแห่งจินตนาการของเธอมี Bing Bong เพื่อนในจินตนาการ ที่หน้าตาเหมือน สัตว์สามสปีชีส์ผสมพันธุ์กัน จนไปถึงแฟนในฝัน ที่หล่อสมาร์ทและ พร้อมจะตายเพื่อเธอ

  • ความฝัน Dream Productions จะเริ่มทำงานก็ต่อเมื่อเรานอนหลับ และหยุดทำงานก็ต่อเมื่อเราตื่น โดยวัตถุดิบที่ทีมผลิตฝัน นำมาสร้างความฝันขึ้นมา ในแต่ละคืนนั้น ก็มีมูลมาจากความทรงจำ ประสบการณ์ หรือจินตนาการของเราทั้งสิ้น โดยทั่วไปเวลาเราฝันดี อย่างมีความสุข เราจะไม่อยากตื่น แต่ถ้าความฝันนั้น เป็นเรื่องราวที่น่ากลัว เราจะสะดุ้งตื่นขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็น กลไกของสมองทั้งสิ้น

  • จิตใต้สำนึก ซึ่งเป็นส่วนที่ถูกเก็บไว้ลึกสุด ในก้นบึ้งจิตใจของมนุษย์ ในนั้นเต็มไปด้วยสิ่งที่เรา กลัวที่สุดหรือเกลียดที่สุด ซึ่งก็มักจะเป็นอะไรสักอย่าง ที่เรามีความทรงจำ ที่โคตรเลวร้ายชนิดที่ว่า จำฝังใจกับมันมาตั้งแต่ชาติก่อน

“Crying helps me slow down and obsess over the weight of life’s problem.”
“การร้องไห้ช่วยให้ฉันใจเย็นลง และก้าวข้ามผ่านปัญหาชีวิตที่มีได้”

ข่าวสาารเพิ่มเติม :Hotel Transylvania  โหลดเกมส์ แทงบอลโลก